คืนวันอังคารที่ 17 - เช้ามืดวันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2552
ข้อมูลโดยสรุป โดย บัญชา ธนบุญสมบัติ http://www.facebook.com/l/7cba2;gotoknow.org/blog/science/313336
* เมื่อ ดาวหางโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ความร้อนจากดวงอาทิตย์จะทำให้ส่วนที่เป็นน้ำแข็งจะระเหิดออกไป เหลือแต่ฝุ่นหินซึ่งถูกทิ้งเป็นแนวยาว เรียกว่า สายธารอุกกาบาต (meteor stream)
* หาก โลกโคจรผ่านบริเวณสายธารอุกกาบาตนี้ ฝุ่นหินก็จะพุ่งเข้าสู่บรรยากาศของโลกอย่างรวดเร็ว และเกิดการเสียดสีจนลุกไหม้ แต่ละก้อนเกิดเป็นดาวตก ซึ่งเมื่อมีจำนวนมากก็จะเรียกว่า ฝนดาวตก (meteor shower)
* ฝนดาวตกที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 17-18 พฤศจิกายนนี้ เกิดในบริเวณกลุ่มดาวสิงโต (Leo) จึงเรียกว่า ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต หรือ ลีโอนิดส์ (Leonids)
* ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโตเกิดจากการที่โลกโคจรผ่านเข้าไปในสายธารอุกกาบาตของ ดาวหาง 55P/เทมเพล-ทัตเทิล (55P/Tempel-Tuttle) ซึ่งมีคาบการโคจร 33 ปี
* ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโตมีความสำคัญและน่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะเคยแผลงฤทธิ์ ในอดีตหลายครั้ง เช่น ในวันที่ 17 พฤศจิกายน http://www.facebook.com/l/7cba2;พ.ศ.2509 (http://www.facebook.com/l/7cba2;ค.ศ.1966) เกิดจำนวนดาวตกสูงสุดถึง 144,000 ครั้งต่อชั่วโมง ในกรณีที่มีจำนวนดาวตกมากเช่นนี้ จะยกระดับจาก "ฝน" ไปเป็น "พายุ" และเรียกว่า พายุฝนดาวตก (meteor storm)
* ย้อนกลับไปในปี พ.ศ. 2376 (http://www.facebook.com/l/7cba2;ค.ศ.1833) ได้เกิดพายุฝนดาวตกครั้งสำคัญทางซีกโลกด้านตะวันตก เช่น แอกเนส เคลิร์ก (Agnes Clerke) นักเขียนเรื่องดาราศาสตร์ ได้บันทึกไว้ว่า
"คืนวันที่ 12-13 พฤศจิกายน http://www.facebook.com/l/7cba2;ค.ศ.1833 เกิดฝนดาวตกอย่างหนักราวดาวตกจะท่วมโลก เห็นในเมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา ลูกไฟสว่างเป็นทางยาวทั่วท้องฟ้าทุกทิศทุกทาง ท้องฟ้าสว่างอย่างน่าอัศจรรย์ ยากที่จะนับจำนวนดาวตกได้ อาจประมาณราว 240,000 ลูก ในช่วงเวลา 9 ชั่วโมงต่อกัน"
[อ้างอิง : สิทธิชัย จันทรศิลปิน, เรียนรู้และสังเกตการณ์ฝนดาวตก, หน้า 14]
ข้อมูลโดยสรุป โดย บัญชา ธนบุญสมบัติ http://www.facebook.com/l/7cba2;gotoknow.org/blog/science/313336
* เมื่อ ดาวหางโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ความร้อนจากดวงอาทิตย์จะทำให้ส่วนที่เป็นน้ำแข็งจะระเหิดออกไป เหลือแต่ฝุ่นหินซึ่งถูกทิ้งเป็นแนวยาว เรียกว่า สายธารอุกกาบาต (meteor stream)
* หาก โลกโคจรผ่านบริเวณสายธารอุกกาบาตนี้ ฝุ่นหินก็จะพุ่งเข้าสู่บรรยากาศของโลกอย่างรวดเร็ว และเกิดการเสียดสีจนลุกไหม้ แต่ละก้อนเกิดเป็นดาวตก ซึ่งเมื่อมีจำนวนมากก็จะเรียกว่า ฝนดาวตก (meteor shower)
* ฝนดาวตกที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 17-18 พฤศจิกายนนี้ เกิดในบริเวณกลุ่มดาวสิงโต (Leo) จึงเรียกว่า ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต หรือ ลีโอนิดส์ (Leonids)
* ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโตเกิดจากการที่โลกโคจรผ่านเข้าไปในสายธารอุกกาบาตของ ดาวหาง 55P/เทมเพล-ทัตเทิล (55P/Tempel-Tuttle) ซึ่งมีคาบการโคจร 33 ปี
* ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโตมีความสำคัญและน่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะเคยแผลงฤทธิ์ ในอดีตหลายครั้ง เช่น ในวันที่ 17 พฤศจิกายน http://www.facebook.com/l/7cba2;พ.ศ.2509 (http://www.facebook.com/l/7cba2;ค.ศ.1966) เกิดจำนวนดาวตกสูงสุดถึง 144,000 ครั้งต่อชั่วโมง ในกรณีที่มีจำนวนดาวตกมากเช่นนี้ จะยกระดับจาก "ฝน" ไปเป็น "พายุ" และเรียกว่า พายุฝนดาวตก (meteor storm)
* ย้อนกลับไปในปี พ.ศ. 2376 (http://www.facebook.com/l/7cba2;ค.ศ.1833) ได้เกิดพายุฝนดาวตกครั้งสำคัญทางซีกโลกด้านตะวันตก เช่น แอกเนส เคลิร์ก (Agnes Clerke) นักเขียนเรื่องดาราศาสตร์ ได้บันทึกไว้ว่า
"คืนวันที่ 12-13 พฤศจิกายน http://www.facebook.com/l/7cba2;ค.ศ.1833 เกิดฝนดาวตกอย่างหนักราวดาวตกจะท่วมโลก เห็นในเมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา ลูกไฟสว่างเป็นทางยาวทั่วท้องฟ้าทุกทิศทุกทาง ท้องฟ้าสว่างอย่างน่าอัศจรรย์ ยากที่จะนับจำนวนดาวตกได้ อาจประมาณราว 240,000 ลูก ในช่วงเวลา 9 ชั่วโมงต่อกัน"
[อ้างอิง : สิทธิชัย จันทรศิลปิน, เรียนรู้และสังเกตการณ์ฝนดาวตก, หน้า 14]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น