ช่างฟ้อนเชียงราย
ตอน แม่ครูฟ้อนผู้สร้างเอกลักษณ์การฟ้อนเชียงราย
ช่างฟ้อน เป็นการเรียกบุคคลที่มีความสามารถในการฟ้อนรำของภาคเหนือ เรียกได้ทั้งหญิงและชาย ผู้หญิงจะมีความสามารถในการฟ้อนอันอ่อนช้อยสวยงาม เช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนสาวไหม ฟ้อนลาวแพน ฟ้อนยวนรำพัด เป็นต้น ส่วนผู้ชายจะนิยมฟ้อนที่มีความเข้มแข็งแต่สวยงาม เช่น ฟ้อนเชิง ฟ้อนดาบ ฟ้อนหอก เป็นต้น จังหวัดเชียงรายมีศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่มีความสวยงามและอ่อนช้อยตามแบบฉบับการแสดงพื้นบ้าน โดยในแต่ละอำเภอก็มีความแตกต่างทางด้านลีลา และชื่อท่าฟ้อนในแต่ละแบบ แต่มีความคล้ายคลึงและใกล้เคียงกันอย่างมาก เช่น การฟ้อนเล็บ ฟ้อนสาวไหม เป็นต้น ฟ้อนสาวไหม เป็นฟ้อนที่ยังคงมีความนิยมกันอย่างมากในบรรดาการฟ้อนทั้งหมดของจังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะการฟ้อนสาวไหมในงานปอยหลวง งานกฐิน ซึ่งช่างฟ้อนแต่ละคนจะฟ้อนไม่เหมือนกันแล้วแต่การได้รับการถ่ายทอดจากครูผู้สอน แต่ความเป็นต้นแบบของการฟ้อนสาวไหมของเชียงรายยังคงอยู่ และได้ถ่ายทอดให้กับเยาวชนจากรุ่นสู่รุ่น โดยการถ่ายทอดและเผยแพร่โดยแม่ครูบัวเรียว (สุภาวสิทธิ์) รัตนมณีภรณ์
แม่ครูบัวเรียว รัตมณีภรณ์ นอกจากจะมีความเชี่ยวชาญทางด้านการฟ้อนสาวไหม อย่างหาที่เปรียบเทียบไม่ได้แล้ว ยังมีความสามารถทางการฟ้อนล้านนาอย่างอื่นอีกมากมาย เช่น การ ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนสร้อยแสงแดง ฟ้อนยวนรำพัด ฟ้อนดาบ ฟ้อนเชิง เป็นต้น นอกจากนั้นยังได้ทำการประดิษฐ์ท่าฟ้อนใหม่ๆให้กับเยาวชน และกลุ่มแม่บ้านเพื่อง่ายต่อการฟ้อน แต่ยังคงความสวยงามตามแบบล้านนาไว้ด้วย เช่น ฟ้อนแม่หญิงล้านนา ฟ้อนสาวไหมผู้สูงอายุ เป็นต้น การฟ้อนต่างๆ ของแม่ครูบังเรียวนั้น มีความเป็นเอกลักษณ์ของช่างฟ้อนที่สวยงาม นุ่มนวล ขณะที่ทำการแสดงทุกครั้งใบหน้าจะมีความสุขอย่างเห็นได้ชัดเจน จากประสบการณ์การฟ้อนและการสั่งสอนลูกศิษย์ลูกหาของแม่ครูบัวเรียวกว่า 50 ปี จึงได้รับการยอมรับจากสังคม สถาบันการศึกษา และบันดาลูกศิษย์ทั้งหลายให้เป็น “แม่ครู” ของชาวล้านนา ซึ่งผลงานปรากฏอย่างเด่นชัดและขอยกตัวอย่างดังนี้
การเป็นวิทยากรสอนฟ้อนตามกลุ่ม/สถาบันต่างๆ พอสังเขป
พ.ศ.2506 - ปัจจุบัน วิทยากรสอนฟ้อนให้กับชุมชน ช่างฟ้อนตามหัววัดต่างๆ รวมถึงกลุ่มเยาวชน
ของจังหวัดเชียงราย
พ.ศ. 2517 - ปัจจุบัน วิทยากรพิเศษสอนฟ้อนสาวไหม ชมรมพื้นบ้านล้านนามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พ.ศ. 2542 - ปัจจุบัน วิทยากรพิเศษ ฟ้อนสาวไหมและฟ้อนพื้นบ้านล้านนามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน วิทยากรสอนฟ้อนสาวไหมและฟ้อนพื้นบ้านล้านนาชมรมสืบสานล้านนา
มหาวิทยาลัยนเรศวร
พ.ศ. 2546 วิทยากรสอนฟ้อนพื้นบ้านล้านนา วิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่
พ.ศ. 2542 - 2549 วิทยากรสอนฟ้อนสาวไหม สถาบันราชภัฏเชียงราย
พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน วิทยากรสอนฟ้อนพื้นบ้านล้านนา โรงเรียนเมืองเชียงราย
พ.ศ. 2542 -2543 วิทยากรสอนฟ้อนพื้นบ้านล้านนา โรงเรียนเชียงรายวิทยาคม
พ.ศ. 2542 วิทยากรสอนฟ้อนพื้นบ้านล้านนา โรงเรียนสันโค้งเชียงรายจรูญราษฎร์
พ.ศ. 2542 วิทยากรสอนฟ้อนกลุ่มครูนาฏศิลป์เชียงราย
พ.ศ. 2549 ถ่ายทอดการฟ้อนสาวไหม แก่ อาจารย์ศุภมงคล หวังในธรรมและอาจารย์
มธุรส ไอยรารัตน์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
พ.ศ. 2550 วิทยากรโครงการ “ละอ่อนเจียงฮายสืบสานศิลปวัฒนธรรม”
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ร่วมกับโรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม
พ.ศ. 2550 วิทยากรในการฝึกอบรมหลักสูตร ศิลปะการแสดงฟ้อนเล็บ รุ่นที่ 1 เทศบาล
นครเชียงราย
พ.ศ. 2551 วิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านอนุรักษ์วัฒนธรรม พื้นบ้านล้านนา (ฟ้อนเล็บ)
พ.ศ. 2551 วิทยากรสอนฟ้อนสาวไหมแก่นักศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่
พ.ศ. 2551 วิทยากรสอนฟ้อนดาบ ฟ้อนเชิง และฟ้อนสาวไหม แก่นักศึกษาชมรมดนตรี
ไทย- พื้นเมือง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
พ.ศ. 2551 วิทยากรฝึกอบรม โครงการอบรมทักษะศิลปการแสดงพื้นบ้านล้านนา คณะ
มนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
พ.ศ. 2552 วิทยากรสอนฟ้อนสาวไหม แก่นักศึกษาชมรมพื้นบ้านล้านนา
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รางวัลและเกียรติคุณที่ได้รับ
- ปี พ.ศ. 2510 รับโล่เกียรติคุณด้านการฟ้อนสาวไหม จากคณะกรรมการบัณฑิต เนื่องในงานร่วมฉลองรับปริญญาคณะมนุษศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ปี พ.ศ. 2511 ได้รับเกียรติบัตรจากสโมสรโรตารี่ เนื่องในงานของสโมสรโรตารี่จังหวัดเชียงใหม่
- ปี พ.ศ. 2526 ได้รับโล่เกียรติคุณจาก ฯพณฯ พลเอกประจวบ สุนทรางกูร รองนายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ ในฐานะผู้สร้างสรรค์สื่อชาวบ้านดีเด่น (ฟ้อนสาวไหม)
- ปี พ.ศ. 2537 ได้รับประกาศเกียรติคุณจาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะเป็น “แม่ครู” ของชมรมพื้นบ้านล้านนา
- ปี พ.ศ. 2542 ได้รับโล่เกียรติคุณเป็นศิลปินดีเด่นจังหวัดเชียงราย สาขาศิลปะการแสดง ฟ้อนสาวไหม จากคณะกรรมการเลขาธิการ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
- ปี พ.ศ. 2543 ได้รับโล่เกียรติคุณ จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย เป็นผู้มีจิตกุศลและสนับสนุนช่วยเหลือฝึกสอนการฟ้อนรำโครงการกลุ่มสตรีวัยทอง
- ปี พ.ศ. 2544 ได้รับประกาศนียบัตร ในการสืบทอดและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย จาก มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
- ปี พ.ศ. 2546 ได้รับเกียรติบัตรจาก วิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ ในการถ่ายทอดการแสดงพื้นบ้านภาคเหนือ (ฟ้อนสาวไหมต้นฉบับ)
- ปี พ.ศ. 2546 ได้รับเกียรติบัตร ในฐานะเป็นกรรมการ มหกรรมการประกวดดนตรีพื้นบ้าน สะล้อ ซอ ซึง เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษาบรมราชินีนาถ
- ปี พ.ศ. 2547 ได้รับพระราชทานปริญญาบัตร จากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ศิลปศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ นาฏศิลป์และการละคร มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
- ปี พ.ศ. 2550 ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับพระราชทานรางวัลพระสิทธิธาดาทองคำ ตามโครงการพระราชทานรางวัลพระสิทธิธาดาทองคำ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สาขาศิลปการแสดงพื้นบ้าน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- ปี พ.ศ. 2551 ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ผู้ทำคุณประโยชน์สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดดีเด่น กระทรวงวัฒนธรรม ประจำปีพุทธศักราช 2549 - 2551
แม่ครูฟ้อนผู้สร้างเอกลักษณ์การฟ้อนเชียงราย โดย อ้ายป๊ะ อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย.
บีอยากรู้จักแม่ครูบัวเรียวจังค่ะ อ้ายป๊ะ อยากให้เปิ้นมาร่วมร้องเพลงในงานแฮนดี้ อิอิ แม่ครูอยู่ที่ไหนบอกได้ไหมคะ บีจะไปหาค่ะ
ตอบลบอ้ายป๊ะฝากมาบอกค่ะ เบอร์บ้านแม่ครูบัวเรียว 053-716915
ตอบลบ