Persepolis (2007)
(มีบรรยายไทยแล้วครับ)
Directer:Marjane Satrapi and Vincent Paronnaud Writter:Marjane Satrapi, Vincent ParonnaudStory:Marjane Satrapi (Comic Book) Running time:95 min Country:France Language:French, Persian, English, German Subtitle: English/ไทย
Starring
Chiara Mastroianni
Catherine Deneuve
Danielle Darrieux
Simon Abkarian
คว้ารางวัล Jury Prize จากคานส์ มาได้ทั้งที่เป็นหนังการ์ตูน
Persepolis เป็นหนังอนิเมชั่น ของผู้กำกับหญิงอิหร่าน มาร์จาเน ซาตราปี
ของเขาแรงจริง
(บทความนี้มาจาก http://varanyoob.multiply.com/journal/item/22/Persepolis_Questions_of_Freeman)
‘Persepolis’ Questions of Freeman
หากคุณเป็นศาสดาองค์สุดท้ายของโลก ศาสนาของคุณจะมีกฎเกณฑ์อย่างไรบ้าง? จะมีคนสักกี่คนในโลกนี้ที่อยากเข้ามาเป็นสาวก? และสำหรับคนที่ไม่ยอมเข้ารีตล่ะ ศาสดาจะจัดการพวกเขาเหล่านั้นอย่างไร?
ในช่วงเดือนมิถุนายนของปีที่ผ่านมา หลายคนอาจจำได้ถึงอนิเมชั่นสัญชาติฝรั่งเศสสุดอื้อฉาว ซึ่งแต่เดิมถูกกำหนดให้ฉายเป็นภาพยนตร์เปิดในงานเทศกาลหนังกรุงเทพฯ แต่จากการขอร้องของสถานทูตอิหร่าน ทำให้คณะกรรมการจัดงานต้องระงับฉาย และอัปเปหิภาพยนตร์เรื่องนี้ออกจากโปรแกรมไปในที่สุด
ความจริงก่อนหน้านั้น ในช่วงเทศกาลหนังเมืองคานส์ ซึ่งจะมีการจัดฉายภาพยนตร์เรื่องนี้ ทางอิหร่านก็ได้ทำหนังสือประท้วงไปยังเทศกาลฯ แต่คนฝรั่งเศสเขาใจถึง จึงทำเป็นไม่สนใจและตีมึนฉายภาพยนตร์เรื่องนี้กันต่อไป
เรื่องร้อนถึงหน่วยงานที่ดูแลเรื่องภาพยนตร์ของประเทศอิหร่าน ‘มูลนิธิฟาราบี’ ถึงกับส่งจดหมายประท้วงไปยังสถานทูตฝรั่งเศสว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้นำเสนอ ‘ภาพอันไม่เป็นจริงที่เกิดจากการปฏิวัติทางศาสนาของประเทศอิหร่าน’ แถมเมื่อทางเทศกาลฯ ตัดสินใจมอบรางวัล July’s Prize ให้กับภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องนี้ ก็ยังมิวายที่ทางรัฐบาลอิหร่านจะออกมาเอะอะเอ็ดตะโรประท้วงกันอีกรอบ
‘Persepolis’ สร้างจากหนังสือการ์ตูนชีวประวัติของนักวาดภาพประกอบหญิงชาวอิหร่านซึ่งปัจจุบันใช้ชีวิตอยู่ในกรุงปารีส Marjane Satrapi เขียนเล่าเรื่องราวชีวิตของตัวเอง ผ่านลายเส้นที่เรียบง่าย ด้วยเนื้อหาที่มีความน่าสนใจในเชิงสังคม หนังสือการ์ตูนเรื่องนี้ได้รับความนิยมและถูกหยิบยกขึ้นมาสร้างเป็นภาพยนตร์ในที่สุด โดยมี Vincent Paronnaud และตัวมาร์แจนที่ร่วมกำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ออกมาด้วยตนเอง
ในวัยเด็กมาร์แจนน้อยมีความฝันอยู่หลายอย่าง เธอชมชอบบรู๊ซ ลี อยากเป็นคอมมิวนิสต์เหมือนเช่นปู่ที่ล่วงลับ และฝันอยากเป็นศาสดาองค์สุดท้ายของโลก ในศาสนาของเด็กหญิง เธอจะห้ามไม่ให้ใครต้องเจ็บป่วยและต้องหิว คนแก่สูงอายุทุกคนจะได้รับปันส่วนเป็นไก่อย่างน้อยวันละหนึ่งตัว…ยายของเธอถึงกับสมัครเป็นสาวกคนแรกของศาสนานี้ในทันที
“ว่าแต่หนูจะทำยังไงกับคนที่ไม่ยอมทำตามกฎเกณฑ์ในศาสนาของหนูล่ะ?” ยายถาม
”…หนูยังไม่ได้นึกถึงเรื่องนั้นเลย” เด็กหญิงนิ่งคิดแล้วตอบ
ครอบครัวของมาร์แจนเป็นชาวเตหะรานหัวสมัยใหม่ที่มีฐานะซึ่ง พ่อ แม่ และย่าต่างเลี้ยงดูให้เธอเติบโตขึ้นมามีความคิดหัวก้าวหน้า ประกอบกับพื้นเพของตระกูล ซึ่งสมาชิกในครอบครัวบางคนต้องประสบเคราะห์กรรมทางการเมืองจากการปฏิวัติแย่งชิงอำนาจทางการปกครองหลายต่อหลายครั้ง ทำให้เด็กหญิงมาร์แจนต้องได้รับผลกระทบจากความคิดของตัวเองที่ดันไปโต้แย้งกรอบบรรทัดฐานของสังคมอิหร่านในช่วงนั้น จนพ่อ แม่ที่ต้องการจะปกป้องตัดสินใจส่งตัวเธอไปใช้ชีวิตยังออสเตรียเมื่อมาร์แจนมีอายุได้เพียง 14 ปี
มาร์แจนต้องใช้ชีวิตอยู่ในโลกที่ตัวเองไม่คุ้นเคยอยู่หลายปี และเมื่อกลับมายังบ้านเกิดก็ต้องพบว่าสภาพสังคมของอิหร่านกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวเธอ ไม่ไปด้วยกันเอาเสียเลย…แล้วเธอจะใช้ชีวิตที่นั่นต่อไปได้อย่างไร?
แม้การเดินเรื่องเกือบทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์จะเป็นภาพขาวดำที่มีเพียงแค่สองมิติ แต่ด้วยลายเส้นอันเรียบง่ายหากเปี่ยมเสน่ห์ตามแบบฉบับของมาร์แจน รวมถึงอารมณ์ขันและเนื้อหาของเนื้อเรื่องที่หนักแน่นแต่ก็ถูกทำให้เบาสมองลงได้เมื่อเป็นอนิเมชั่น ก็สามารถเอาผู้ชมอยู่ได้ตลอดเรื่อง
เสน่ห์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ถือเป็นหัวใจของอนิเมชั่นเรื่องนี้คือการตั้งคำถามที่เดินควบคู่ไปกับเรื่องราวชีวิตอันโลดโผนของผู้หญิงเพียงคนเดียวตั้งแต่เด็กจนโต มาร์แจนตั้งคำถามกับสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมหลายระดับและหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเมืองการปกครอง วิถีอันชอบธรรมในการปฏิวัติ สิทธิ เสรีภาพและความเท่าเทียมกันระหว่างเพศภายใต้คันร่มที่มีชื่อว่า ‘ศาสนา’ กระทั่งความแตกต่างกันทางด้านวัฒนธรรมระหว่างโลกที่หนึ่งและโลกที่สาม...เรียกได้ว่ามีบทสนทนาที่คมคายหลุดออกมาให้เราได้สนุกขบคิดกันตลอดทั้งเรื่องเลยทีเดียว
เมื่อชมภาพยนตร์เรื่องนี้จบแล้วจึงไม่ประหลาดใจเลยว่าเหตุใด แค่ภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องเดียวจึงได้เป็นพิษเป็นภัยต่อรัฐบาลอิหร่านนัก? คำตอบคือเพราะนอกจากมันจะเปิดเผยภาพลักษณ์ของการปฏิวัติ และวิถีแห่งการปกครองของประเทศอิหร่านต่อสายตาโลกภายนอกแล้ว ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังได้สั่นคลอนอำนาจรัฐด้วยคำถามของผู้หญิงตัวเล็กๆ เพียงคนเดียว ซึ่งนั่นอาจจะเป็นคำถามเดียวกันกับเพื่อนร่วมชาติทั้งชาติของเธออยากถามด้วยก็ได้
…ไม่สิ เอาเข้าจริงๆ มันเป็นคำถามอันไม่ยอมจำนนของคนที่มีหัวใจเป็นเสรีชนทั้งมวลต่างหาก
น่าเสียดายที่ ‘Persepolis’ จัดฉายที่โรงภาพยนตร์ House RCA เพียงแห่งเดียวเท่านั้น ในช่วงก่อนจะถึงสิ้นเดือนมีนาคมนี้ หลายๆ คนคงต้องพลาดชมไปอย่างน่าเสียดาย
…ถ้าแผ่นออกเมื่อไหร่ อย่าลืมไปหามาชมกันนะครับ
(บทความนี้ตัดมาจาก http://iteau.wordpress.com/2008/03/15/persepolis/)
Persepolis
In ภาพยนตร์ : Movie, สังคม: social on มีนาคม 15, 2008 at 11:59 am
เพิ่งมีโอกาสได้ไปดู Persepolis หนัง animation ภาษาฝรั่งเศสแนวบันทึกความทรงจำ ที่สร้างขึ้นจากหนังสือชื่อเรื่องเดียวกัน ที่ตีพิมพ์ออกมาสองภาค ภาคแรกเป็นช่วงวัยเด็ก ภาคสองเป็นช่วงที่เติบโตเป็นสาว (ต้นฉบับภาษาฝรั่งเศส ตีพิมพ์เป็นรูปเล่มครั้งแรกเมื่อปี 2000)
Persepolis เป็นเรื่องราวของ Marjance Satrapi ในการใช้ชีวิตช่วงเด็กในอิหร่าน และเติบโตในต่างประเทศ (ปัจจุบันเธอเป็นนักเขียนอยู่ในฝรั่งเศส)จุดเด่นสำคัญของตัวเนื้อเรื่อง หาได้อยู่กับชีวประวัติของ Satrapi ไม่ หากแต่ คือ ประวัติศาสตร์ของอิหร่าน และประเด็นด้านการเมือง สงคราม สังคม และวัฒนธรรม ที่ทำให้เข้าใจความเป็นไปของประเทศที่หลายคนมองว่า เป็นประเทศหัวรุนแรงประเทศหนึ่งได้ดีขึ้น
เวลากลับบ้านทีไร มักจะมีคนถามว่า คนอเมริกันเป็นอย่างไร ผมก็มักจะตอบว่า ก็เหมือนคนไทย ถามต่อว่าเหมือนยังไง ก็เหมือนกันตรงที่ ไม่สามารถเหมารวมได้ว่า คนอเมริกันทั้งหมดเป็นอย่างไร เพราะคนเหมือนคน แต่คนไม่เหมือนกัน หนัง (และหนังสือ) ของ Satrapi นี้ก็เห็นจะเป็นเช่นกัน ที่ชี้ให้เห็นว่า คนอิหร่านทุกคน ก็ไม่จำเป็นต้องมีภาพลักษณ์เป็นพวกหัวรุนแรง น่ากลัว เพียงเพราะการที่มีพวกหัวรุนแรงเคลื่อนไหว ทำตัวเป็น PR ของประเทศ
ถึงแม้เรื่องของอิหร่าน ดูเหมือนจะเป็นเรื่องไกลตัว แต่ประเด็นที่สอดแทรกอยู่ในหนัง ไม่ว่าจะเรื่องการเมือง สังคม และวัฒนธรรมนั้น เข้าเนื้อเข้าหนัง คนไทยอย่างเรามาก มีฉากที่คุ้น ๆ มีประเด็นปัญหาที่เหมือนที่เมืองไทยพูดถึงกัน
ภาพรวมของหนัง ค่อนข้างชอบ ถึงแม้หลัก ๆ จะเป็นหนังการ์ตูนขาว-ดำ เพื่อแสดงว่าเป็นการเล่าเรื่องในอดีต แต่ลายเส้นที่หนาและไม่รกตา (เทียบกับ version ที่เป็นหนังสือ ลายเส้นของการ์ตูนในหนัง ดู polished มากกว่า แต่ก็ไม่เสียความเป็นอัตลักษณ์ของ Satrapi ไป) transition ดูเรียบง่าย แต่ให้ความหมายได้ดี
[เพิ่มเติม: ข้อมูลบน imdb, หนังสือบน Amazon (Satrapi ยังมี graphic novel ในรูปแบบวรรณกรรมเยาวชนที่น่าสนใจ อีกมาก น่าติดตามอ่านทีเดียว)]
Persepolis แอนิเมชั่นจากฝรั่งเศส ถูกสั่งระงับการฉายในเทศกาลหนังกรุงเทพ แม้เพิ่งจะมีการประกาศอย่างเป็นทางการว่าจะเป็นหนังเปิดเมื่อวันเสาร์ (23) ที่ผ่านมานี้เอง |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น