วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552

มองนอก อย่าลืมใน

เพื่อนคนหนึ่งเล่าว่ามีหลานอายุ ๔ ขวบชื่อปลาวาฬ เป็นเด็กฉลาด ตอนนี้ท่องบทอิติปิโสได้แล้ว กำลังท่องบทพาหุงฯ อยู่ 
วันหนึ่งปลาวาฬถูกแม่ดุ ปลาวาฬคงจะหน้าบึ้ง แต่ไม่พูดอะไร กลับเดินไปนังหลบมุม
แม่แปลกใจเดินตามไปดู ถามว่าทำอะไร ปลาวาฬตอบว่า "กำลังสงบสติอารมณ์อยู่"

ฟังแล้วนึกถึงเด็กคนหนึ่งอายุไล่ ๆ ปลาวาฬชื่อน้องไอซ์ วันหนึ่งวิ่งเล่นเพลิน เลยไปชนประตูกระจกเต็มแรงแม่ได้ยินเสียงดังชัดเจน
ตกใจรีบวิ่งไปดู พอจะเข้าไปอุ้มน้องไอซ์ หมายปลอบใจให้หายปวด แต่น้องไอซ์กลับบอกแม่ว่า "ไม่ต้อง ๆ น้องไอซ์นั่งสมาธิเดี๋ยวก็ห
าย"

คนเราเวลามีอะไรมากระทบจนเป็นทุกข์ เรามักพุ่งจิตออกนอกตัว ไปยังสิ่งที่มากระทบนั้น อาจจะ
โต้เถียง ต่อว่า ตำหนิ กล่าวโทษ โกรธแค้น หรือคิดจะไปจัดการกับสิ่งนั้น (เช่น เตะของที่มาขวางทาง) 
แต่ทั้งปลาวาฬและน้องไอซ์ตรงกันข้าม
กลับหันมาดูใจของตัว และมุ่งจัดการกับใจของตัวมากกว่า แสดงว่าเขารู้ทันใจของตัวเอ
ผู้ใหญ่เป็นอันมากทำไม่ได้อย่างนี้ และไม่คิดจะทำด้วย เพราะคิดว่าทุกข์นั้นเกิดเพราะสิ่งภายนอก
คิดแบบนี้ก็ไม่ถึงกับผิดนัก แต่ลืมไปว่าใจที่วางไม่ถูกต่างหากที่ทำให้เป็นทุกข์ หรือเพิ่มทุกข์ให้มากขึ้น
พอลืมดูใจ ก็เลยทุกข์ไม่สร่าง

บ่อยครั้งเราส่งจิตออกนอก (โดยเฉพาะเวลามีปัญหาเกิดขึ้นจากผู้คนหรือส่งแวดล้อม)
เพราะเห็นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น "ไม่ถูกต้อง" แต่เราก็ไม่ควรหมกม่นจดจ่อกับ "ถูก-ผิด"นอกตัวเกินไป
จนลืมเห็นใจที่ "ขึ้น-ลง ฟู-แฟบ" การแก้ปัญหาภายนอกให้ถูกต้อง เป็นสิ่งที่ควรทำ แต่อย่าลืมจัดการ
กับใจของตนด้วย ไม่เช่นนั้นก็จะถูกความทุกข์เผาใจไม่เลิก และอาจนำไปสู่การทะเลาะวิวาทกันได้

พระไพศาล วิศาโล
15 สิงหาคม 2552



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น