วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ฝนดาวตกลีโอนิดส์


ภาพที่ 1 ฝนดาวตกลีโอนิดส์ (Leonid meteor shower) ในปี 2002
ณ หอดูดาว Bohyunsan ทางตอนใต้ของประเทศเกาหลี
[credit: Jérémie Vaubaillon (California Institute of Technology, CalTech)]
หอดูดาวมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เชิญชวนคนไทยชมปรากฏการณ์ "ฝนดาวตกลีโอนิดส์" หรือ "ฝนดาวตกจากกลุ่มดาวสิงโตซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยคนไทยทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ จะมีโอกาสชม ฝนดาวตกลีโอนิดส์นับร้อยดวงแบบชัดๆ ตั้งแต่ช่วงเที่ยงคืนของวันที่ 17 ต่อเนื่องไปจนถึงรุ่งเช้า 18 พฤศจิกายน เหตุเพราะเวลาเกิดปรากฏการณ์ตรงกับ "คืนเดือนมืด" ท้องฟ้าค่อนข้างมืดสนิท ช่วงเวลาที่คาดว่าจะมองเห็นฝนดาวตกสูงสุด คือ เวลาประมาณ 04.00 น. ของวันที่ 18 พฤศจิกายน ตกราวๆ 150-160 ดวงต่อชั่วโมง โดยเผ้ามองท้องฟ้าที่กลุ่มดาวสิงโต ทางท้องฟ้าด้านทิศตะวันออก ได้ทุกพื้นที่ของประเทศไทย

หอดูดาวมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องฝนดาวตกและดาราศาสตร์ทั่วไป ตั้งแต่ วันที่ 17 พ.ย. 2552 เวลา 19:00 น. ถึง วันที่ 18 พ.ย. 2552 เวลา 04:00น. และขอเชิญชวนผู้ที่สนใจ ให้เตรียมเต้นท์มากางและเฝ้าดูฝนดาวตกร่วมกัน ทั้งนี้ มีนักเรียนประถมแจ้งความประสงค์เข้าร่วมกิจกรรมแล้ว 240 คน

สำหรับสถานที่ที่เหมาะสมกับการดูฝนดาวตกลีโอนิดส์ ถ้าจะให้ดีควรเป็นจุดที่ไม่มีแสงไฟรบกวน หรือห่างจากเมืองใหญ่ไม่น้อยกว่า 100 กิโลเมตร หันหน้าไปทางดาวเหนือ **การถ่ายภาพควรตั้งความไวแสง ISO 400-800 ถ้าใช้กล้องสองตาควรมีหน้าเลนส์ไม่ต่ำกว่า 50 มิลลิเมตร และกำลังขยาย 7 เท่าขึ้นไป

สอบถามรายละเอียดได้ที่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 053-776-012

หรือ หอดูดาวมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 053-776-000 ต่อ 1600, 1601

ภาพที่ 2 แสดง จุด Radiant เกิดฝนดาวตก Leonid ในกลุ่มสิงโต (Leo) จากโปรแกรม Stellarium


ภาพที่ 3 แสดงการโคจรของดาวหาง55พี เทมเพล-ทัตเทิล (55P Tempel-Tuttle)

com

บริเวณที่สามารถมองเห็นฝนดาวตกลีโอนิดส์ ปี พ.ศ. 2552 [ที่มา: http://leonid.arc.nasa.gov/]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น