“ฉันจะเดินทางด้วยเรือลำนี้”
ตอน คิดให้ดีถ้าจะหนีตาม กาลิเลโอ
(จากบทละครเรื่อง กาลิเลโอโดยคณะละคร28)
ในวาระครอบรอบ400ปีของการสร้างกล้องดูดาวของกาลิเลโอ(ซึ่งกล้องดูดาวก็มีการสร้างมาก่อนหน้านี้แล้ว)ทำให้คิดถึง
ละครเรื่องกาลิเลโอที่เคยดูเมื่อราว 20ปีก่อนโดยคณะละคร28ดัดแปลงจากบทละครของ Bertolt Brecth นักเขียนบทละครชาวเยอรมันชื่อดังในศตวรรษที่ 20ได้นำประวัติกาลิเลโอ กาลิเลอิ มาตีความหมายอีกมุมมองหนึ่ง ชื่อเรื่องว่า Life of Galileo (ค.ศ. 1943) และมีการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ ใช้ชื่อว่า Galileo ออกฉายในปี ค.ศ. 1975
บทละครนี้ได้ตีความหมายใหม่ให้กับกาลิเลโอที่เราทราบกันดีใน “เรื่องเล่าที่ยิ่งใหญ่”ว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่โด่งดังเป็นเสมือนวีระบุรุษที่สร้างความรู้อันจริงแท้ให้กับโลกมนุษย์โดยบทละครนั้นสร้างให้กาลิเลโอเป็นมนุษย์ปุถุชน ที่มีความต้องการความสะดวกสบาย รสชาติอาหารที่ยอดเยี่ยม และการเข้าสังคม แต่เนื่องด้วยอาชีพที่เป็นนักฟิสิกส์ ประจำราชสำนักที่อยู่ไม่สุขแบบต้องการหาความจริงของโลกและสอบทานความจริง ของโลกที่ “เชื่อในเรื่องเล่าที่ยิ่งใหญ่” โลกนั้นแบนและโลกเป็นศูนย์กลางจักวาล บนท้องฟ้ามีพระเจ้า ทุคนจงยำเกรง และอย่าเดินทางไกลมากจะตกขอบโลก ผู้คนจึงต้องอยู่ติดที่ดินเป็นทาสของเจ้าของที่ดิน ในยุคกลางของยุโรป การค้นพบความจริงที่ขัดต่อเรื่องเล่าที่ยิ่งใหญ่ของกาลิเลโอนั้นผ่านการประดิษฐ์กล้องดูดาวและค้นพบว่า บนท้องฟ้าไม่มีพระเจ้า โลกกลมและหมุนรอบดวงอาทิตย์ การอธิบายความจริงนั้นไม่ง่ายเลยสำหรับผู้ที่ตกอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ ของราชสำนักโรม เป็นการล้มล้างความยำเกรงในคำสอนที่เชื่อกัน ดังนั้นจึงมีคำตัดสินให้กาลิเลโอถอนคำสอนในเรื่องการค้นพบของตนเอง ถ้าไม่เช่นนั้นก็จะต้องตาย
ในฉากนี้นั้น เมื่ออยู่ในชั้นเรียนของสังคมไทย ในรายวิชา ประวัติศาสตร์ศิลป์และวิชาวิจัยทางวัฒนธรรมศึกษา ผ่านการตั้งคำถามที่ว่า “นักศึกษาคิดว่ากาลิเลโอจะถอนคำสอนหรือไม่” นักศึกษาทุกคน (ขอย้ำว่าทุกคนทุกชั้นปีและทุกภาคการศึกษา) ตอบเป็นคำตอบเดียวว่า “ไม่”และยอมตายดีกว่าที่จะละทิ้งต่อความจริง แต่พอรู้ความจริงว่ากาลิเลโอยอมถอนคำสอนนั้นไปเพื่อรักษาชีวิตตนเอง และนักศึกษารู้สึกผิดหวังกับคำตอบที่เป็นความจริงนั้น
เรายังต้องการวีรบุรุษอีกเพราะเราไม่กล้าพอที่จะต่อสู้และค้นหาความจริงด้วยตนเองแม้ว่าความจริงนั้นจะเจ็บปวดอย่างไร ราชสำนักต้องใช้เวลาในการเยียวยาความเจ็บปวดนั้นในเมื่อมีการลงสำรวจดวงจันทร์และต้องใช้เวลา400ปีในการยอมรับนักฟิสิกส์ของตนเอง
ในเดือนมีนาคม พ.ศ.2541 ทางสำนักวาติกันได้เสนอการกู้คืนชื่อเสียงของกาลิเลโอโดยสร้างอนุสาวรีย์ของ เขาเอาไว้ที่กำแพงด้านนอกของวาติกัน เดือนธันวาคมปีเดียวกัน ในกิจกรรมการเฉลิมฉลองครบรอบ 400 ปีการสร้างกล้องโทรทรรศน์ของกาลิเลโอ สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ได้ทรงเอ่ยยกย่องคุณูปการของกาลิเลโอที่มีต่อวงการดาราศาสตร์
เราควรหันมามองมนุษย์ทุกคนในแบบ กาลิเลโอในฐานะมนุษย์ที่มีเลือดเนื้อ มีจิตใจไม่ใช่แบบของการโหยหาวีรบุรุษ (ไม่ต้องหนีตาม) มนุษย์ต้องเชื่อมั่นในตนเอง ที่จะเป็นอิสระเสรี
Galileo facing the Roman Inquisition
ในวาระ400ปีแห่งความขมขื่นใจจึงขอนำบทเพลงประกอบละครเวทีเรื่องกาลิเลโอมาแผยแพร่เพื่อเป็นบทสรุปของเรื่องนี้
(พูด) ท่านผู้ทรงเกียรติ ท่านสุภาพบุรุษ ท่านสุภาพสตรี ก่อนที่ขบวนแห่ของผู้ประกอบการจะมาถึง เราขอเสนอบทเพลงที่สร้างขึ้นด้วยความยากลำบากและความพยายามอันมากมายมหาศาล กว่าจะได้นำเสนอต่อท่านในที่นี้ ในตรงนี้ … บทเพลงนี้มีชื่อว่าความฝันและความคิดอันชั่วร้ายของนักฟิสิกส์ประจำราชสำนัก ท่านกาลิเลโอ หรืออีกชื่อหนึ่งว่า … การลิ้มลองอนาคต
ข้าแต่พระองค์ … เดี๋ยวก่อน….ข้าแต่พระองค์ … เดี๋ยวก่อน….
ยังมีชายหนึ่งชื่อ กาลิเลโอ หัวโตพุงโรทิ้งพระคัมภีร์
ส่องกล้องดูดาวด้วยวิทยาการ อันฉลาดอาจหาญไม่กลัวบัดสีไม่มีพระเจ้าไม่มีพระองค์ มีแต่ความหลุ่มหลงงมโง่สิ้นดี
ดวงสุริยันมันก็ลอยอยู่เฉยๆ ชะเออเอิ่งเอยแบบไหนกันนี่ เอ๊ะ! มันไม่เข้าที อ๊ะ! หรือว่าเข้าที
หนุ่มสาวที่แข็งกระด้าง สุนัขที่แข็งกระด้าง เด็กวัดที่แข็งกระด้าง คนงานขี้เมาไม่ยอมไปทำงาน
เมื่อเป็นเช่นนิ้จะได้ไฉน พี่น้องทั้งหลายนั่นพระคัมภีร์
เมื่อเป็นเช่นนิ้จะได้ไฉน พี่น้องทั้งหลายนั่นพระคัมภีร์
ฉันกำลังมองหา ดวงอาทิตย์ฆ่าเวลา ส่องโลมไล้จันทราของฉัน
มวลมิตรทั้งผองต้องทุกข์ลำเค็ญ ไม่ว่าจะอยู่หรือเป็น ต้องลำบากลำบน
จงปลดโซ่ตรวน ที่มันกวนรังควาน ด้วยความกล้าหาญเยี่ยงนรชน
กาลิเลโอ กาลิเลอี คือเทียนช่วยชี้พ้นทางมืดมน
ความคิดอ่อนแอแพ้ภัยทั้งปวง คือสิ่งเหนี่ยวหน่วงหัวใจของตน
กาลิเลโอ - หงา คาราวาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น