จากบล็อก http://oyspace.wordpress.com/2010/04/05/บทเรียนจากดอกสร้อยอินท/#more-85
เมื่อสองเดือนก่อน สามีซื้อกล้องถ่ายรูปให้ใหม่ เลยเอาออกไปทดลองในสวนที่บ้านงานศึกษาธรรมชาติของผู้เขียนจำเป็นต้องใช้โหมดแมคโครถ่ายภาพเล็กๆ ใกล้ๆ อยู่บ่อยๆ เลยคิดว่าน่าจะลองถ่ายมดเป็นบททดสอบกล้องบทที่หนึ่ง
ตรงชานหน้าบ้านปลูกต้นสร้อยอินทนินไว้ให้มันออกดอกห้อยย้อยลงมาเล่นแสง กรองแดดด้วย ดูสวยดีด้วย ดอกสีม่วงตัดกับบ้านสีชมพู เป็นที่รู้กันว่า ตรงโคนดอกสร้อยอินทนินจะมีมดมาตอมอยู่เยอะ เคยอ่านตำราฝรั่งมาเมื่อ 20 ปีก่อนว่าสร้อยอินทนินปล่อยน้ำหวานออกมาที่โคนดอกด้านนอกเพื่อเลี้ยงมด ฝูงมดที่มารุมกินเลี้ยงจะตอบแทนดอกไม้ด้วยการป้องกันไม่ให้สัตว์อื่นมาเจาะขโมยน้ำหวาน ทำดอกไม้เสียหายโดยไม่ผสมเกสรให้ โจรตัวสำคัญได้แก่แมลงภู่ เผลอไม่ได้ แต่ใครๆ ก็ต้องกลัวมด เพราะมันไม่กลัวใคร
รุมกันเป็นกองทัพทึ้งศัตรู ไม่คุ้มเลยสำหรับน้ำหวานอึกเดียว
ตั้งแต่อ่านเรื่องนี้มา ผู้เขียนก็คอยสังเกตดูต่อมน้ำหวานที่โคนดอกไม้พวกนี้ ภาษาชีวะเรียกว่า extrafloral nectaries หมายถึงต่อมน้ำหวานที่อยู่ด้านนอกของดอก (หรือใบ) ไม่ใช่น้ำหวานข้างในที่เป็นรางวัลให้ผู้ผสมเกสรดื่มกิน
พอตั้งใจสังเกตก็เห็นต่อมอย่างว่าบนดอกปิ้งขาวในป่าทันที เป็นดอกไม้คล้ายๆ ดอกเข็ม แต่เกสรจะยื่นยาวออกมาเหนือกลีบดอก ตรงโคนดอกด้านนอกมีต่อมน้ำหวานแลดูเป็นตุ่มเม็ดใสๆ เรียงรายเป็นแถวรอบโคนดอกทั้งสี่ทิศ และก็จริงดั่งตำราว่า รอบๆ ต่อมน้ำหวานมีฝูงมดมารุมดื่มกิน ผีเสื้อที่มาผสมเกสรไม่เดือดร้อนที่มีมดเกาะเต็มโคนดอก เพราะมันบินลงมากินจากด้านบน คลี่ปากหลอดยาวที่ม้วนเก็บไว้ใต้คาง แยงลงไปในกรวยดอก ดูดกินน้ำหวานได้สบาย ในขณะที่หน้ามันก็แปะติดลงไปบนเกสรดอกไม้ เสร็จจากดอกนี้ ไปกินต่อดอกโน้น ละอองเรณูที่ติดบนหน้าก็ถูกนำไปผสมพันธุ์โดยปริยาย
แต่เมื่อกลับเข้าเมืองมาหาต่อมน้ำหวานนอกดอกบนดอกสร้อยอินทนินก็กลับหาไม่เจอ ทั้งๆ ที่มันเป็นตัวอย่างคลาสสิกตามคำบอกกล่าวของตำรา ยังนึกๆ อยู่ว่าฝรั่งคงเขียนผิด วันคืนผ่านไป นานเข้าก็ลืมเรื่องนี้ ไปได้เรื่องสนุกอื่นๆ เล่นแทน
จนมาลองกล้องใหม่นี่แหละ วันนั้น ถือกล้องออกไปถ่ายดอกอินทนิน เห็นมดเกาะตามโคนดอก จึงนึกถึงเรื่องต่อมน้ำหวานนอกดอกขึ้นมาได้ มองหาอีก ก็ไม่เห็นมี ถ่ายมดได้แล้ว ขยายภาพดูบนจอกล้องก็ไม่เห็น นึกอยู่ว่ามันคงปล่อยน้ำหวานให้ซึมๆ ออกมานิดๆ เรามองไม่เห็นแต่มดสัมผัสได้ ไม่ได้เจ๋งเป็นต่อมพิเศษอย่างดอกปิ้งขาวซะหน่อย ถ่ายมดได้แล้ว ก็รอถ่ายตัวผสมเกสร มีแมลงภู่มาบินกันว่อน มุดเข้าดอกนั้น ออกไปหาดอกนี้ ประพฤติตัวดี เข้าทางตรอกออกทางประตูร้านน้ำหวาน จ่ายค่าอาหารเครื่องดื่มเรียบร้อย เพราะเกรงใจแก็งนักเลงที่ดอกไม้เลี้ยงไว้หลังร้าน แมลงภู่ลูกค้าขาใหญ่กินเสร็จ ก็มีผึ้งมิ้มตัวเล็กมาเยี่ยมเยียน เข้าไปเก็บละอองเรณูใส่ตะกร้าข้างขาจนพูน แลดูเหมือนแมลงขาบวม ขนเอากลับรัง
ร้านน้ำหวานดอกไม้เปิดบริการช่วงเช้า พอบ่ายจัด ธุรกิจประสบความสำเร็จ ก็ปิดกิจการ ฝูงมดโคนดอกเริ่มทยอยหายไป ดอกไม้เริ่มเหี่ยว ผึ้งมิ้มรีบเข้ามาเก็บกวาดอาหารเหลือก่อนดอกจะโรย ร่วงหล่นลงดิน ย่อยสลายกลับไปเป็นปุ๋ยอาหารให้ต้นไม้ต่อไป
ผู้เขียนดูดอกไม้ชมแมลงอิ่มอกอิ่มใจดีแล้ว ก็กลับเข้าบ้านไปโหลดรูปลงคอมฯ ชื่นชมผลงาน
เปิดรูปที่โหลดขึ้นเต็มจอ เช็คคุณภาพไปมาก็ยังไม่เห็นอะไร ลองขยายรูปตรวจโฟกัสสักหน่อย ทีแรกก็ไม่เห็น แต่แล้วอยู่ๆ ก็สะดุด นี่มันอะไรกัน ตรงโคนดอกมันมีวงแหวนลักษณะคล้ายฟองน้ำหนาๆ ควั่นอยู่รอบ ชุ่มฉ่ำไปด้วยน้ำหวาน บริเวณนี้แหละที่ฝูงมดมารุมตอม
ต่อมน้ำหวานนอกดอกของดอกสร้อยอินทนินไม่ได้เป็นต่อมรูเล็กๆ อย่างดอกปิ้งขาว แต่เป็นเค้กฟองน้ำชุบน้ำเชื่อมก้อนใหญ่ ประมาณขนมกุหลาบจามุลของแขกอินเดีย ยิ่งดูยิ่งไม่อยากเชื่อว่าเราไม่เห็นมันได้ยังไงตลอด 20 ปี มันใหญ่ออกตำตา
ไม่เห็นเพราะคิดไปเองว่าต่อมต้องเป็นตุ่ม เป็นเม็ดอย่างดอกปิ้งขาว
โบราณว่าสัญญานบังตา จนไม่เห็นสัจธรรม ไม่เห็นความจริงที่เด่นโร่อยู่ตรงหน้า
อคติทำให้ตามัวถึง 20 ปี แต่โทษทีเถอะโรบินและแบ็ดแมน พอได้เห็นเอง จากการค้นพบเอง
มันสว่างโล่งเต็มหัวใจ
ทำงานกับธรรมชาติมันสนุกอย่างนี้แหละ ได้เรียนรู้ตลอดเวลา ทั้งธรรมชาติรอบตัว และธรรมชาติในตัว
หันมาสำรวจตัวเองกันอีกที สิ่งที่เราเห็นใช่สิ่งที่เราคิดว่าเห็นหรือเปล่าหรือว่าเป็นเหมือนผู้เขียน ไม่เห็นตุ่มก็พาลว่าไม่มีต่อม
กรุงเทพธุรกิจ 1 เมษายน 2553
เมื่อสองเดือนก่อน สามีซื้อกล้องถ่ายรูปให้ใหม่ เลยเอาออกไปทดลองในสวนที่บ้านงานศึกษาธรรมชาติของผู้เขียนจำเป็นต้องใช้โหมดแมคโครถ่ายภาพเล็กๆ ใกล้ๆ อยู่บ่อยๆ เลยคิดว่าน่าจะลองถ่ายมดเป็นบททดสอบกล้องบทที่หนึ่ง
ตรงชานหน้าบ้านปลูกต้นสร้อยอินทนินไว้ให้มันออกดอกห้อยย้อยลงมาเล่นแสง กรองแดดด้วย ดูสวยดีด้วย ดอกสีม่วงตัดกับบ้านสีชมพู เป็นที่รู้กันว่า ตรงโคนดอกสร้อยอินทนินจะมีมดมาตอมอยู่เยอะ เคยอ่านตำราฝรั่งมาเมื่อ 20 ปีก่อนว่าสร้อยอินทนินปล่อยน้ำหวานออกมาที่โคนดอกด้านนอกเพื่อเลี้ยงมด ฝูงมดที่มารุมกินเลี้ยงจะตอบแทนดอกไม้ด้วยการป้องกันไม่ให้สัตว์อื่นมาเจาะขโมยน้ำหวาน ทำดอกไม้เสียหายโดยไม่ผสมเกสรให้ โจรตัวสำคัญได้แก่แมลงภู่ เผลอไม่ได้ แต่ใครๆ ก็ต้องกลัวมด เพราะมันไม่กลัวใคร
รุมกันเป็นกองทัพทึ้งศัตรู ไม่คุ้มเลยสำหรับน้ำหวานอึกเดียว
ตั้งแต่อ่านเรื่องนี้มา ผู้เขียนก็คอยสังเกตดูต่อมน้ำหวานที่โคนดอกไม้พวกนี้ ภาษาชีวะเรียกว่า extrafloral nectaries หมายถึงต่อมน้ำหวานที่อยู่ด้านนอกของดอก (หรือใบ) ไม่ใช่น้ำหวานข้างในที่เป็นรางวัลให้ผู้ผสมเกสรดื่มกิน
พอตั้งใจสังเกตก็เห็นต่อมอย่างว่าบนดอกปิ้งขาวในป่าทันที เป็นดอกไม้คล้ายๆ ดอกเข็ม แต่เกสรจะยื่นยาวออกมาเหนือกลีบดอก ตรงโคนดอกด้านนอกมีต่อมน้ำหวานแลดูเป็นตุ่มเม็ดใสๆ เรียงรายเป็นแถวรอบโคนดอกทั้งสี่ทิศ และก็จริงดั่งตำราว่า รอบๆ ต่อมน้ำหวานมีฝูงมดมารุมดื่มกิน ผีเสื้อที่มาผสมเกสรไม่เดือดร้อนที่มีมดเกาะเต็มโคนดอก เพราะมันบินลงมากินจากด้านบน คลี่ปากหลอดยาวที่ม้วนเก็บไว้ใต้คาง แยงลงไปในกรวยดอก ดูดกินน้ำหวานได้สบาย ในขณะที่หน้ามันก็แปะติดลงไปบนเกสรดอกไม้ เสร็จจากดอกนี้ ไปกินต่อดอกโน้น ละอองเรณูที่ติดบนหน้าก็ถูกนำไปผสมพันธุ์โดยปริยาย
แต่เมื่อกลับเข้าเมืองมาหาต่อมน้ำหวานนอกดอกบนดอกสร้อยอินทนินก็กลับหาไม่เจอ ทั้งๆ ที่มันเป็นตัวอย่างคลาสสิกตามคำบอกกล่าวของตำรา ยังนึกๆ อยู่ว่าฝรั่งคงเขียนผิด วันคืนผ่านไป นานเข้าก็ลืมเรื่องนี้ ไปได้เรื่องสนุกอื่นๆ เล่นแทน
จนมาลองกล้องใหม่นี่แหละ วันนั้น ถือกล้องออกไปถ่ายดอกอินทนิน เห็นมดเกาะตามโคนดอก จึงนึกถึงเรื่องต่อมน้ำหวานนอกดอกขึ้นมาได้ มองหาอีก ก็ไม่เห็นมี ถ่ายมดได้แล้ว ขยายภาพดูบนจอกล้องก็ไม่เห็น นึกอยู่ว่ามันคงปล่อยน้ำหวานให้ซึมๆ ออกมานิดๆ เรามองไม่เห็นแต่มดสัมผัสได้ ไม่ได้เจ๋งเป็นต่อมพิเศษอย่างดอกปิ้งขาวซะหน่อย ถ่ายมดได้แล้ว ก็รอถ่ายตัวผสมเกสร มีแมลงภู่มาบินกันว่อน มุดเข้าดอกนั้น ออกไปหาดอกนี้ ประพฤติตัวดี เข้าทางตรอกออกทางประตูร้านน้ำหวาน จ่ายค่าอาหารเครื่องดื่มเรียบร้อย เพราะเกรงใจแก็งนักเลงที่ดอกไม้เลี้ยงไว้หลังร้าน แมลงภู่ลูกค้าขาใหญ่กินเสร็จ ก็มีผึ้งมิ้มตัวเล็กมาเยี่ยมเยียน เข้าไปเก็บละอองเรณูใส่ตะกร้าข้างขาจนพูน แลดูเหมือนแมลงขาบวม ขนเอากลับรัง
ร้านน้ำหวานดอกไม้เปิดบริการช่วงเช้า พอบ่ายจัด ธุรกิจประสบความสำเร็จ ก็ปิดกิจการ ฝูงมดโคนดอกเริ่มทยอยหายไป ดอกไม้เริ่มเหี่ยว ผึ้งมิ้มรีบเข้ามาเก็บกวาดอาหารเหลือก่อนดอกจะโรย ร่วงหล่นลงดิน ย่อยสลายกลับไปเป็นปุ๋ยอาหารให้ต้นไม้ต่อไป
ผู้เขียนดูดอกไม้ชมแมลงอิ่มอกอิ่มใจดีแล้ว ก็กลับเข้าบ้านไปโหลดรูปลงคอมฯ ชื่นชมผลงาน
เปิดรูปที่โหลดขึ้นเต็มจอ เช็คคุณภาพไปมาก็ยังไม่เห็นอะไร ลองขยายรูปตรวจโฟกัสสักหน่อย ทีแรกก็ไม่เห็น แต่แล้วอยู่ๆ ก็สะดุด นี่มันอะไรกัน ตรงโคนดอกมันมีวงแหวนลักษณะคล้ายฟองน้ำหนาๆ ควั่นอยู่รอบ ชุ่มฉ่ำไปด้วยน้ำหวาน บริเวณนี้แหละที่ฝูงมดมารุมตอม
ต่อมน้ำหวานนอกดอกของดอกสร้อยอินทนินไม่ได้เป็นต่อมรูเล็กๆ อย่างดอกปิ้งขาว แต่เป็นเค้กฟองน้ำชุบน้ำเชื่อมก้อนใหญ่ ประมาณขนมกุหลาบจามุลของแขกอินเดีย ยิ่งดูยิ่งไม่อยากเชื่อว่าเราไม่เห็นมันได้ยังไงตลอด 20 ปี มันใหญ่ออกตำตา
ไม่เห็นเพราะคิดไปเองว่าต่อมต้องเป็นตุ่ม เป็นเม็ดอย่างดอกปิ้งขาว
โบราณว่าสัญญานบังตา จนไม่เห็นสัจธรรม ไม่เห็นความจริงที่เด่นโร่อยู่ตรงหน้า
อคติทำให้ตามัวถึง 20 ปี แต่โทษทีเถอะโรบินและแบ็ดแมน พอได้เห็นเอง จากการค้นพบเอง
มันสว่างโล่งเต็มหัวใจ
ทำงานกับธรรมชาติมันสนุกอย่างนี้แหละ ได้เรียนรู้ตลอดเวลา ทั้งธรรมชาติรอบตัว และธรรมชาติในตัว
หันมาสำรวจตัวเองกันอีกที สิ่งที่เราเห็นใช่สิ่งที่เราคิดว่าเห็นหรือเปล่าหรือว่าเป็นเหมือนผู้เขียน ไม่เห็นตุ่มก็พาลว่าไม่มีต่อม
กรุงเทพธุรกิจ 1 เมษายน 2553
โห...... ชอบค่ะ
ตอบลบ